สิว (Acne) มักเกิดในช่วงวัยรุ่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เป็นการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากการอุดตันของน้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วบริเวณรูขุมขน มักจะมีอาการบวมแดง มีหนอง ส่วนมากมักเกิดบริเวณใบหน้า ลำคอ อก ไหล่ และหลัง ซึ่งเมื่อเกิดสิว ต้องหาวิธีรักษาสิว แต่ก่อนที่จะทำการรักษาสิว เราคงต้องมาหาสาเหตุของการเกิดสิวกันก่อนดีกว่า

Closeup studio shot of a beautiful young woman with freckles skin, cleansing her face with cotton pad. Posing against a grey background
สาเหตุของการเกิดสิว
- กรรมพันธุ์
สังเกตได้ว่าหากพ่อ แม่ เป็นสิว ลูกก็จะเป็นตามไปด้วย
- การใช้ยา
การใช้ยาบางอย่างเช่น สเตียรอยด์และลิเธียม ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับบางคน
- แบคทีเรีย
การที่ต่อมไขมันสร้างน้ำมันออกมามากเกินจะทำให้ เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แบคทีเรีย เจริญเติบโตได้ดี ซึ่งจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ บวมแดง และเป็นหัวหนอง
- ฮอร์โมน
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนแอนโดรเจนทั้งชายและหญิงในช่วงวัยรุ่น ส่งผลให้ต่อมไขมันที่ผิวหนังผลิตน้ำมันมากขึ้นกว่าความต้องการของผิว
ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว
- การสูบบุหรี่
- อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (น้ำตาลและแป้ง)
- เครื่องสำอางที่ก่อให้เกิดการอุดตันรูขุมขนได้
- การบริโภคนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวมากเกินไป (ยกเว้นชีส)
- ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ก่อให้เกิดการอุดตัน
- วิธีรักษาสิว ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผิวของตัวเอง
ปัจจัยหลักในการเกิดสิว คือ ร่างกายผลิตน้ำมันที่ชั้นผิวหนังมากเกินไป เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วไปอุดตันรูขุมขน และการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโตในช่วงวัยรุ่นก็อาจทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน
เมื่อร่างกายผลิตน้ำมันมากเกินไป เซลล์ผิวหนังที่ตายไปแล้วไปอุดตันรูขุมขน มีการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนนั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิวได้เช่นกัน
วิธีรักษาสิว
การรักษาด้วยยาทาเฉพาะที่
- แดพโซน (Dapsone) เป็นยารักษาการติดเชื้อจากแบคทีเรียและการอักเสบของผิวหนัง ใช้ร่วมกับเรตินอยด์เพื่อประสิทธิผลทางการรักษาสูงสุด
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ยาจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง รวมทั้งลดรอยแดงจากสิว
- เรตินอยด์ (Retinoid) ซึ่งเป็นสารที่ได้มาจากวิตามินเอ แรก ๆ ใช้ยาทาสามครั้งต่อสัปดาห์ในตอนเย็น หลังจากนั้นใช้ทาวันละครั้งเพื่อให้ผิวคุ้นเคยกับสาร ยาตัวนี้จะช่วยป้องกันการอุดตันของรูขุมขน
การรักษาด้วยยา แบบยารับประทาน
- ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม (Combined Oral Contraceptive)
ยาคุมกำเนิดชนิดนี้มีตัวยาฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ลดความเสี่ยงของการอุดตันจนทำให้เกิดสิว แต่มีผลข้างเคียง คือ อาการปวดหัว คลื่นไส้ ปวดหน้าอก น้ำหนักเพิ่มขึ้น มีเลือดไหลก่อนมีประจำเดือน และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
- ยาปฏิชีวนะ(Antibiotic)
ใช้ลดเชื้อแบคทีเรียและต้านการอักเสบ ใช้เมื่อผู้ป่วยเป็นสิวอักเสบในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง สามารถใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะแบบทาได้ โดยแพทย์จะจ่ายยาตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายต้านสารหรือดื้อยา
- ไอโซเตรติโนอิน(Isotretinoin)
ยาอนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ ใช้ในผู้ป่วยที่มีสิวอักเสบในระดับรุนแรงมากที่สุด และผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาสิวด้วยวิธีอื่น ๆ โดยผู้ที่ใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
การรักษาด้วยวิธีการบำบัด
- การฉีดสเตียรอยด์(Steroid)
เป็นการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปยังบริเวณที่เป็นสิว ทำให้การบวมอักเสบของสิวหายไปโดยไม่ต้องบีบสิวออกมา
- การฉายแสง(Light Therapy)
เป็นการฉายเพื่อทำลายเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุของการเกิดสิวอักเสบ การฉายแสงต้องดำเนินการโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อควบคุมคุณภาพและปริมาณของแสงให้เหมาะสม
- การผลัดเซลล์ผิว
- เป็นการใช้กระบวนการทางเคมีมาช่วยในการรักษา เช่น การใช้กรดซาลิเซลิก เพื่อขัดลอกผิวชั้นนอก ลดการอุดตันของน้ำมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว
- การกดสิว
ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาแล้วสิวหัวดำและสิวหัวขาวยังไม่หมดไป โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือช่วยในการบีบเอาสิ่งที่อุดตันภายในสิวออกมา ผลข้างเคียง คือ อาจเกิดร่องรอยหรือรอยแผลเป็นได้
การรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว
- การทำเลเซอร์(Laser Resurfacing) เป็นการยิงเลเซอร์เพื่อกำจัดเซลล์ผิวเก่าที่ไม่พึงประสงค์บริเวณที่เกิดรอยแผลเป็น และเป็นการกระตุ้นให้ผลัดเซลล์ผิวใหม่
- การฉีดฟิลเลอร์
แพทย์จะฉีดสารเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อทำให้ผิวตึงและรอยแผลเป็นดูจางลง หากรักษาด้วยวิธีนี้ต้องไปฉีดฟิลเลอร์เป็นระยะ ๆ ผลข้างเคียง คือ อาจเกิดการบวม แดง หรือรอยช้ำเป็นจ้ำเลือดบริเวณผิวหนังได้
- การกรอผิว
ใช้รักษารอยแผลเป็นที่รุนแรงด้วยการใช้เครื่องกรอซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ในการขัดเอาเซลล์ผิวเก่าที่เสียและตายแล้วบริเวณรอยแผลเป็นออกไป
บทสรุป
วิธีรักษาสิว การรักษาสิวเป็นวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง และหากรักษาด้วยตัวเองแล้วไม่พอใจกับสภาพผิวที่ได้สามารถรักษาด้วยเทคนิคทางการแพทย์ ซึ่งท่านจะต้องศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดการอักเสบบนใบหน้าที่ท่านจะต้องกลับมารักษานอกเหนือจากการรักษาสิว