รักษาสิวอุดตัน ทำอย่างไรดี?

สิวอุดตันเกิดจาก การอุดตันของต่อมไขมัน ซึ่งอาจเกิดจากการผลิตน้ำมันจำนวนมากบนใบหน้า การสะสมของเซลล์ผิวที่ตายแล้วในรูขุมขน รวมไปถึงการสัมผัสกับสิ่งสกปรก หรือเชื้อแบคทีเรีย  เป็นสิวขนาดเล็กที่เป็นตุ่มอุดตันใต้ผิวหนัง ชนิดที่ไม่เกิดการอักเสบ เป็นสิวที่เกิดจากการอุดตันในรูขุมขน มักพบได้มากบริเวณหน้าผากและคาง

สิวอุดตันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด

รักษาสิวอุดตัน

1.สิวอุดตันหัวเปิด

หรือที่เรามักเรียกว่า สิวหัวดำ สิวอุดตันชนิดนี้สามารถบีบออกได้เองแต่ควรทำอย่างถูกวิธีหากทำไม่ถูกวิธีอาจจะทำให้เกิดการอักเสบและรอยแผลเป็นได้

2.สิวอุดตันหัวปิด

เป็นสิวอุดตันที่มีลักษณะเป็นสิวหัวขาวสิวอุดตันชนิดนี้ไม่มีหัวให้บีบหรือกดให้ออกจากผิวหนังได้ จะเป็นตุ่มนูนเพียงเล็กน้อยและมีสีเดียวกับผิวหนังปกติของแต่ละคน

3.สิวอุดตันที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

เป็นสิวอุดตันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยในช่วงที่เริ่มเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายจะสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งต่อมไขมันจะตอบสนองต่อฮอร์โมนตัวนี้ และทำให้เกิดการหลั่งไขมันออกมาเพิ่มมากขึ้น และที่สำคัญสิวอุดตันที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่านี้สามารถหายได้เองโดยการดูแลผิวหน้าให้ดี 

สาเหตุการเกิดสิวอุดตัน

  • เกิดจากการแพ้อาหาร หลังจากรับประทานอาหารที่แพ้ไปสักพักก็จะมีสิวขึ้นทันที
  • เกิดจากสภาพอากาศ เช่น บางคนอาจมีสิวขึ้นหลังจากโดนแดดเป็นเวลานาน
  • เกิดจากความเครียด ยิ่งเครียดยิ่งทำให้ภูมิต้านทานโรคภายในร่างกายยิ่งต่ำลงและเป็นสาเหตุให้เกิดสิวอุดตันและอักเสบในที่สุดค่ะ
  • เกิดจากกรรมพันธุ์ สาเหตุที่เกิดจากกรรมพันธุ์อาจไม่สามารถจะยับยั้งไม่ให้เกิดสิวได้แต่ทางการแพทย์สามารถรักษาสิวอุดตันให้หายได้
  • เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับผิวทั้งหลายที่ไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดสิวอุดตันได้
  • เกิดจากระดับฮอร์โมน การมีระดับของฮอร์โมนเพศที่มากขึ้นในช่วงดังกล่าวจะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมามากขึ้น ทำให้ไขมันไม่สามารถระบายออกมาได้ทัน เชื้อโรคจึงเกิดการแบ่งตัวมากขึ้น และเกิดสิวอุดตันตามมานั่นเอง

การรักษาสิวอุดตัน

เมื่อเป็นสิวอุดตัน เบื้องต้นสามารถรักษาดูแลอาการได้ด้วยตนเอง ด้วยการใช้ยาทาเฉพาะที่ทาบนบริเวณที่เกิดสิว ซึ่งสามารถหาซื้อได้จากร้านขายยาที่มีใบรับรองอย่างถูกต้อง โดยให้เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญช่วยแนะนำ ยารักษาสิวอุดตัน จะช่วยทำให้สิวแห้ง และสามารถชำระล้างสิ่งอุดตันและน้ำมันบนผิวหน้าออกไปได้ง่ายขึ้น

  • ยาที่มีส่วนประกอบของเรตินอยด์ (Retinoids) ซึ่งเป็นยาทารักษาเฉพาะจุดที่เกิดสิว เช่น ไอโซเตรติโนอิน (Isotretinoin) อะดาพาลีน (Adapalene)
  • ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ อาจช่วยรักษาสิวอุดตันได้ในบางกรณี แต่ส่วนใหญ่แพทย์มักให้ยาชนิดนี้ในกรณีที่มีสิวอักเสบเกิดขึ้นด้วย
  • ยาปรับฮอร์โมนในร่างกาย แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม เพื่อเพิ่มฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะส่งผลในการรักษาและลดการเกิดสิวอุดตัน หรือยาต้านฮอร์โมนเพศชาย (Anti-Androgenic) เพื่อลดผลกระทบจากฮอร์โมนเพศชายที่ทำให้เกิดสิวอุดตัน
  • การใช้ความเย็น (Cryotherapy) แพทย์อาจใช้เครื่องพ่นไนโตรเจนเหลวหรือคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอุณหภูมิต่ำไปยังจุดที่ต้องการรักษาเป็นเวลาสั้น ๆ เพื่อทำให้สิวบริเวณนั้นแห้งลงและขจัดออกไปได้ง่ายด้วยการล้างหน้าในภายหลัง
  • การจี้ด้วยไฟฟ้า (Electrosurgery) แพทย์จะใช้เครื่องมือจี้ไฟฟ้าไปบนบริเวณที่เกิดสิว เพื่อให้ความร้อนจากไฟฟ้ากำจัดสิวที่อุดตันอยู่ให้หมดไป
  • การกรอผิว (Microdermabrasion) แพทย์จะใช้เครื่องมือที่ประกอบด้วยผลึกคริสตัลขนาดเล็กกรอลอกผิวบริเวณที่เป็นสิว ทำให้สิวที่อุดตันบริเวณนั้นหลุดออกไป กระตุ้นให้เซลล์เนื้อเยื่อในบริเวณดังกล่าวได้เจริญเติบโตขึ้นมาใหม่ เพื่อทดแทนเนื้อเยื่อในบริเวณเดิม

การป้องกันการเกิดสิวอุดตัน

  • โดยเริ่มจากล้างทำความสะอาดบริเวณผิวหน้าอย่างถูกวิธีและควรล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง ทั้งเช้าและเย็น หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ทำให้ใบหน้าแห้ง และระคายเคืองกับผิว โดยเลือกผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยนต่อผิว
  • ปกป้องผิวจากแสงแดด เนื่องจากแสงแดดและอากาศร้อนจะทำให้ผิวแห้งกร้านและกระตุ้นให้เซลล์ผิวผลิตน้ำมันมาหล่อเลี้ยงผิวมากจึงทำให้เกิดสิวอุดตันได้
  • หลีกเลี่ยงการทำร้ายหน้าด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การบีบ การแกะ การเกา ต่าง ๆ เพราะจะเป็นการทำร้ายผิวและเป็นการเปิดช่องผิวให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อตามมาได้